วิธีการเก็บงานกล่องไม้MDFแบบพื้นฐาน

หลังจากการตัด ประกอบ ปิดฝาบนล่าง และการกัดขอบ จะมีรอยจากการถู ลาก และรอยที่จากใบคัตเตอร์กัดขอบ ทำให้ต้องทำการขัดชิ้นงานโดยใช้เครื่องขัดกระดาษทราย

1.การใช้กระดาษทรายในการขัดชิ้นงานไม้ดิบ ( ชิ้นงานไม้ดิบคือชิ้นงานไม้ที่ไม่ได้ทำสี )
ใช้กระดาษทรายเบอร์ 5 สำหรับการขัดหยาบ หรือการขัดครั้งแรก เพื่อขจัดคราบกาวและรอยถลอก

1.1 ในกรณีที่ใช้เครื่องขัดสั่นแบบกลม ให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ 80-120 สำหรับการขัดครั้งแรก

2.การขัดไม้ MDF จะใช้เวลาไม่นาน และไม่ควรทิ้งน้ำหนักมือลงเครื่องขัด เนื่องจากไม้ชนิดนี้อ่อนนุ่ม ทำให้ขัดง่ายที่สุดในตระกูลไม้อัด เมื่อสังเกตุเห็นว่าขอบของกล่องเรียบเสมอกันแล้วให้ทำการพลิกขัดให้ครบทุกฝั่ง เช่นตัวอย่างในภาพ และให้ทำการเป่าฝุ่นที่เกิดจากการขัดตามรอยต่อและรอยรูตะปูของกล่อง

3. เมื่อเป่าฝุ่นครบทุกด้านของตัวกล่องแล้ว ให้เลือกฝุ่นโป๊ว ที่ผสมสีใกล้เคียงกับสีของชิ้นงานมากที่สุดเพื่อความเรียบเนียนของชิิ้นงาน

3.1 ทริคในการเก็บพาร์ทงานโป๊วกล่องในจำนวนเยอะ ให้ตั้งกล่องดังเช่นในภาพ ให้ทำการโป๊ว รู รอยต่อที่ไม่สนิท หลุมบนชิ้นงาน เมื่อโป๊วครบ1ด้านให้ทำการหมุนชิ้นงานเพื่อโป๊วฝั่งต่อไปในลักษณะเดิม และให้ทิ้งให้ฝุ่นโป๊วบนชิ้นงาน 20 นาที เพื่อให้แห้ง
3.2การตั้งชิ้นงานเรียงกัน จะทำให้ชิ้นงานสัมผัสโต๊ะทำงานน้อยลงจะลดการเกิดรอยบนชิ้นงาน
3.3ไม่ทำให้ฝุ่นโป๊วของเราเปื้อนกับโต๊ะทำงาน ทำให้โต๊ะไม่สกปรก
3.4จุดใดที่ไม่มีหลุม รู หรือรอยต่อที่กาวไม่เต็ม ก็ไม่จำเป็นต้องโป๊วในงานดิบเพื่อประหยัดเวลาในการทำงาน

4. เมื่อฝุ่นโป๊วแห้งสนิทแล้ว จะเริ่มการขัดละเอียดชิ้นงานรอบสุดท้ายโดยใช้กระดาษทรายเบอร์ 2หรือกระดาษทรายPUเบอร์ 240 ในการขัดละเอียด
4.1 ทริคการขัดเก็บรายละเอียดชิ้นงาน ให้ขัดฝุ่นโป๊วออกให้เรียบเนียน แต่ไม่สมควรขัดนานเกินไปเนื่องจากจะทำให้ฝุ่นโป๊วหลุดออกได้


5. หลังจากการผ่ากล่อง ให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ 2 หรือ 240 ลูบขอบตัวกล่อง-ฝากล่องทั้งด้านในและด้านนอกเช่นในรูปภาพเพื่อลบคม

6.ด้านล่างของกล่องที่สัมผัสกับรั้วของเลื่อยจะทิ้งรอยจากการดันกล่องถูตัวร้วให้ใช้กระดาษทรายเบอร์2ขัดเก็บทุกกล่อง
7.หลังจากขัดเก็บครบแล้วให้เป่าฝุ่นเพื่อรอติดตัวล๊อคบานพับ
วิธีติดตัวล๊อค-บานพับขั้นพื้นฐาน
1.ให้ทำการจัดวางตักล่องและฝาให้ถูกด้าน อาจจะสังเกตุจากสีของไม้หรือรอยต่อของตัวกล่อง
หากจัดวางผิดด้านจะทำให้ตัวและฝาของกล่องไม่เสมอ เหลื่อมล้ำกัน หรือเกิดการเบี้ยว เช่นในรูป


2.เมื่อจัดเรียงตัวและฝาถูกด้านแล้ว ให้ใช้เทปกาวกระดาษ ติดที่ขอบกล่องเช่นในรูปทั้งสี่มุม
(ไม่ควรให้เทปกาวยาวเกินไปเพราะจะทำให้ต้องเสียเวลาแกะเพราะจะติดบานพับ )

3.เมื่อติดครบแล้ว ให้ทำการเรียงเช่นในภาพเพื่อเตรียมขีดตำแหน่งของบานพับ-ตัวล๊อค
3.1 ข้อควรระวัง การติดตัวล๊อคบานพับ จะติดที่ด้านความยาวของตัวกล่อง (คือด้านที่ไม่มีรอยต่อของไม้ )


*นี่คือการจัดเรียงที่ผิดเพราะจะทำให้ติดตัวล๊อค-บานพับผิดด้านได้

4.หลังการจัดเรียงให้ถูกด้านแล้ว ให้ใช้ไม้บรรทัดขีดเส้นบนเศษไม้เพื่อใช้ขีดเส้นมาร์คตำแหน่งของบานพับ ตำแหน่งจุดวางบานพับ ให้เลือกตามความเหมาสมของขนาดกล่อง
*ทริค การขีดเส้นที่ไม้จะทำให้การมาร์คเส้นตำแหน่งบานพับรวดเร็วกว่าการใช้ไม้บรรทัดวัดทีละกล่อง

5.เมื่อมาร์คตำแหน่งบานพับแล้ว ให้ทาบบานพับบนกล่อง วางตำแหน่งของจุดหมุนให้อยู่กลางรอยต่อของกล่อง ห้ามเอียงเด็ดขาดเพราะจะทำให้ฝาเบี้ยวตอนเปิด
5.1ให้ใช้สว่านใส่ดอกเจาะ ที่มีขนาดพอดีหรือเล็กกว่าสกรูที่ใช้ยึดบานพับ เจาะลงไป1/3ของความหนาตัวกล่อง

6. การยิงกรูยึดตัวและฝาให้ยิงสกรูตามภาพ เพื่อง่ายในการจัดตัวและฝาของกล่องให้เรียบเสมอกัน
เมื่อเช็คว่าตัวและฝาเสมอกันแล้วให้ยิงสกรูยึดทุกจุด

7. การติดตัวล๊อคของกล่อง ตำแหน่งตัวล๊อคจะอยู่ที่ศูนย์กลางของกล่องเสมอ ให้ใช้ไม้บรรทัดวัดความยาวของศูนย์กลางกล่องแล้วขีดที่ไม้มาร์คตำแหน่ง เพื่อง่ายต่อการมาร์คตำแหน่งของกล่องในจำนวนเยอะๆ เช่นในภาพ

8 . เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการแล้วให้เจาะรูเสมอเช่นในภาพ เพื่อให้ง่ายต่อการยิงสกรู ตำแหน้งจะไม่ผิดเพี้ยน

9. เมื่อติดครบแล้วให้ทำการเป่าฝุ่น เช็คตัวกล่อง ตำแหน่งของบานพับ-ตัวล๊อค ว่าถูกหรือไม้ก่อนส่งงานเสมอ
Comentários